ร้านอาหาร ภัตตะ วังน้ำเขียว

ที่มาของคำว่า "ภัตตะ"

"ภัตตะ" เป็นภาษาบาลี เขียนด้วย “ภตฺต” อ่านว่า พัด-ตะ ซึ่งเป็นคำศัพย์เดิมของคำว่า “ภัตตานิ” เขียนแบบบาลีเป็น “ภตฺตานิ”  ซึ่ง “ภตฺต” แปลตามศัพท์ว่า “ของเป็นเครื่องกิน” “ของที่จะพึงกลืนกิน” แต่ในยุคสมัยของเราๆ หมายถึง "การเลี้ยง, อาหาร, ของบำรุงเลี้ยงร่างกาย, อาหารที่เป็นมื้อ".

.

และคำว่า  “ภัตตานิ” เรามักจะได้ยินมาจาก คำถวายสังฆทาน” มีคำขึ้นต้นว่า

อิมานิ มยํ ภนฺเต ภตฺตานิ สปริวารานิ …. (อิมานิ มะยัง ภันเต ภัตตานิ สะปะริวารานิ ..) ทาง ร้านอาหาร ภัตตะ วังน้ำเขียว เราจึงได้นำคำว่า"ภัตตะ" มาตั้งเป็นชื่อร้าน ด้วยเจตนาที่ต้องการ ทำอาหาร และ บริการ ให้กับคนที่สำคัญ เหมือนดั่งเช่นถวายแด่ พระภิกษุสงฆ์ สามเณร เพราะว่า ลูกค้าของเราทุกๆท่าน ของเราคือคนสำคัญ.

.

ประกอบกับในพื้นที่ วังน้ำเขียว เป็นแหล่งที่มีสถานที่สำหรับปฏิบัติธรรมเป็นจำนวนมาก เราจึงได้นำคำนี้มาตั้งเป็นชื่อร้าน เพื่อให้สอดคล้องกลมกลืน กับสภาพท้องถิ่นนั่นเอง.

.

อีกทั้ง วังน้ำเขียว ยังเป็นอำเภอหนึ่งของโคราช ที่มีสภาพอากาศดี เย็นสบายตลอดทั้งปี และยังคงความเป็นธรรมชาติอยู่ค่อนข้างมาก อีกทั้งยังมีสินค้าทางการเกษตร ผักออร์แกนิค ฟาร์มต่าง ก็มีหลากหลาย และเป็นของดีมีคุณภาพทั้งนั้น.

.

เราจึงอยากนำเสนอ อาหาร โดยนำวัตถุดิบในท้องถิ่น ที่เป็นการส่งเสริมอาชีพเกษตรกรรม ในพื้นที่ มาปรุงอาหาร ให้กับคนที่อาศัย หรือ ผ่านมายัง วังน้ำเขียว ตลอดจนนักท่องเที่ยว ที่มาเที่ยว วังน้ำเขียว ได้ทาน และ ลิ้มรสอาหาร จากความตั้งใจของทาง ภัตตะ  นั่นเอง..

Share by: